โครงสร้างส่วนราชการ

  • ส่วนราชการ
  • สำนักปลัด
  • สำนักช่าง
  • สำนักสาธารณสุขฯ
  • กองคลัง
  • กองยุทธศาสตร์ฯ
  • กองการศึกษา
  • กองสวัสดิการสังคม
  • กองทะเบียนราษฎรฯ
  • กองการเจ้าหน้าที่
  • หน่วยตรวจสอบภายใน
สำนักปลัดเทศบาล ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ 
- งานราชการทั่วไปของเทศบาล
- งานเลขานุการของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี
- งานกิจการสภาเทศบาล
- งานสวัสดิการสังคม
- งานสังคมสงเคราะห์
- งานพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส
- งานกิจการขนส่ง
- งานส่งเสริมการท่องเที่ยว
- งานส่งเสริมการเกษตร
- งานการพาณิชย์
- งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- งานเทศกิจ
- งานรักษาความสงบเรียบร้อย
- งานจราจร
- งานวิเทศสัมพันธ์
- งานสนับสนุนการประชาสัมพันธ์
- งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- งานนิติการ
- งานทะเบียนราษฎร
- งานบัตรประจำตัวประชาชน
- งานการเลือกตั้ง
- งานคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
- งานสิ่งแวดล้อม

และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกอง สำนัก หรือส่วนราชการใดในเทศบาลเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของเทศบาล งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
            หน่วยตรวจสอบภายใน ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานจัดทำแผนการตรวจสอบภายในประจำปี งานการตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสารการรับการจ่ายเงินทุกประเภท  ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การบัญชี งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุและทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานตรวจสอบการทำประโยชน์จากทรัพย์สินของเทศบาล งานตรวจสอบ ติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการให้เป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประหยัด  งานวิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัด คุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ งานประเมินการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ งานรายงานผลการตรวจสอบภายใน งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำแนวทางแก้ ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจและผู้เกี่ยวข้อง งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ หน่วยงานตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อปลัดเทศบาล

แผนการตรวจสอบภายใน

            กฎบัตรการตรวจสอบภายใน เทศบาลเมืองมหาสารคามกฎบัตรการตรวจสอบภายในฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิง และเป็นแนวทางการงานตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และให้ผู้บริหารหน่วยรับตรวจและผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจเกี่ยวกับความหมาย วัตถุประสงค์สายการบังคับบัญชา อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบและความรับผิดชอบตามผลงานหน้าที่ขอบเขตการปฎิบัติงานรวมถึงจรรยาบรรณการตรวจสอบภายในของหน่วยตรวจสอบภายในเทศบาลเมืองมหาสารคามเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วย ก่อให้เกิดการประสานประโยชน์โดยรวมของเทศบาลเมืองมหาสารคาม

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน

คำนิยาม

            การตรวจสอบภายใน หมายถึงกิจกรรมการให้ความเชื่อมั่น และการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรม และเป็นอิสระซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่างานของหน่วยรับตรวจให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในจะช่วยลูกเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง  การควบคุมและการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ
หน่วยตรวจสอบภายใน หมายถึง หน่วยงานที่รับผิดชอบงานตรวจสอบภายในของเทศบาลเมืองมหาสารคาม
ผู้ตรวจสอบภายใน หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของเทศบาลเมืองมหาสารคาม
หน่วยรับตรวจ หมายถึง ทุกสำนัก/กอง ในเทศบาลเมืองมหาสารคาม รวมทั้ง โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
มาตรฐานการตรวจสอบภายใน หมายถึง กรอบแนวทางในการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในเพื่อให้มีผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าเชื่อถือและมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
จรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน หมายถึง กรอบความประพฤติที่ดีงามที่ผู้ตรวจสอบภายในต้องพึงปฏิบัติตนในอันที่จะนำมาซึ่งความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรม เป็นอิสระ และเปี่ยมคุณภาพ

ความรับผิดชอบในผลงานตามหน้าที่

            ในการตรวจสอบตามขอบเขตการปฏิบัติงาน หน่วยงานตรวจสอบภายในเทศบาลเมืองมหาสารคามได้ใช้ข้อมูล (เอกสารหลักฐาน) ของหน่วยรับตรวจเป็นข้อมูลหลักในการตรวจสอบ ซึ่งทางหน่วยรับตรวจเป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูล(เอกสารหลักฐาน)ดังกล่าว หน่วยงานตรวจสอบภายใน เทศบาลเมืองมหาสารคามเป็นผู้รับผิดชอบในการรายงานผลการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2561

ขอบเขตการปฏิบัติงาน

  • งานให้ความเชื่อมั่น
  • การตรวจสอบด้านการเงิน (Financial Audit)
  • การตรวจสอบด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Audit)
  • การตรวจสอบด้านการดำเนินงาน (Performance Audit)
  • การตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology)
  • การตรวจสอบด้านการบริหาร (Management Audit)
  • การตรวจสอบด้านการปฏิบัติงาน (Operational Audit)
  • การตรวจสอบพิเศษ (Special Audit )
  • การบริการให้คำปรึกษา

จรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน

            ผู้ตรวจสอบภายใน พึงประพฤติปฏิบัติตนภายใต้กรอบความประพฤติที่ดีงาม โดยยึดหลักปฏิบัติจรรยาบรรณการตรวจสอบภายใน ดังต่อไปนี้     
1. ความซื่อสัตย์ (Integrity) ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ ปฏิบัติและสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และเปิดเผยข้อมูลตามวิชาชีพกำหนด โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมาย หรือไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำที่อาจนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพการตรวจสอบภายใน หรือสร้างความเสียหายต่อราชการ   
2. ความเที่ยงธรรม (Objectivity) ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องไม่พึงรับสิ่งของใดๆ และไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือสร้างความสัมพันธ์ใดๆ ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดอคติ ลำเอียงจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างเที่ยงธรรมหรือในการใช้วิจารณญาณเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงปฏิบัติได้ ทั้งนี้ต้องเปิดเผยหรือรายงานข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญทั้งหมดที่ตรวจพบ ซึ่งหากละเว้นไม่เปิดเผยหรือไม่รายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว อาจจะทำให้รายงานบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงหือเป็นการปิดบังการกระทำผิดกฎหมาย   
3. การปกปิดความลับ (Confidentiality) ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องมีความรอบคอบในการใช้และรักษาข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานรวมทั้งต้องไม่นำข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานไปใช้แสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง และจะไม่กระทำการใดๆ ที่ขัดต่อกฎหมายและประโยชน์ของหน่วยงานรัฐ   
4. ความสามารถในหน้าที่ (Competency) ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักมาตรฐานการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ โดยจะต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในส่วนที่ตนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเท่านั้น และต้องพัฒนาศักยภาพของตนเอง รวมทั้งพัฒนาประสิทธิผล และคุณภาพของการให้บริการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

หน้าที่หน่วยรับตรวจ

            1. อำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและคำชี้แจงเรื่องที่ตรวจสอบแก่ผู้ตรวจสอบภายใน
2. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานให้ครบถ้วน สมบูรณ์พร้อมให้ผู้ตรวจสอบภายในตรวจสอบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
3. ปฏิบัติตามข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายใน ในเรื่องต่าง ๆ
สำนักช่าง ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ 
- งานสำรวจ
- งานออกแบบและเขียนแบบ
- งานประมาณราคา
- งานจัดทำราคากลาง
- งานจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรมต่าง ๆ
- งานจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ
- งานจัดทำทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ำ
- งานติดตั้งซ่อมบำรุง ระบบไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณจราจร
- งานปรับปรุงภูมิทัศน์
- งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง
- งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย
- งานตรวจสอบการก่อสร้าง
- งานจัดทำแผนปฏิบัติงานการก่อสร้างซ่อมบำรุงประจำปี
- งานควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง
- งานจัดทำประวัติติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล
- งานจัดทำทะเบียนประวัติการใช้เครื่องจักรกลและยานพาหนะ
- งานแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ
- งานเกี่ยวกับการประปา
- งานเกี่ยวกับการช่างสุขาภิบาล
- งานช่วยเหลือสนับสนุนเครื่องจักรกล
- งานช่วยเหลือสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- งานช่วยเหลือสนับสนุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- งานจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดซื้อ เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง
- งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการด้านวิศวกรรมต่าง ๆ
- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
- งานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์และจัดทำแผนงานด้านสาธารณสุข
- งานส่งเสริมสุขภาพ
- งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
- งานสุขาภิบาลในสถานประกอบการ
- งานสุขาภิบาลชุมชน
- งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
- งานคุ้มครองผู้บริโภค
- งานให้บริการด้านสาธารณสุข
- งานเภสัชกรรม
- งานพยาธิวิทยา
- งานรังสีวิทยา
- งานวิชาการทางการแพทย์
- งานวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
- งานการแพทย์
- งานการแพทย์ฉุกเฉิน
- งานรักษาพยาบาล
- งานศูนย์บริการสาธารณสุข
- งานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- งานบริหารสาธารณสุข
- งานส่งเสริมป้องกันควบคุมโรค
- งานเวชปฏิบัติครอบครัว
- งานหลักประกันสุขภาพ
- งานมาตรฐานและคุณภาพหน่วยบริการ
- งานยุทธศาสตร์สาธารณสุข
- งานกฎหมายสาธารณสุข
- งานแพทย์แผนไทย
- งานส่งเสริมสนับสนุนการแพทย์แผนไทย
- งานกายภาพและอาชีวบำบัด
- งานฟื้นฟูสมรรถภาพและจิตใจผู้ป่วย
- งานทันตสาธารณสุข
- งานบริการรักษาความสะอาดงานบริการและพัฒนาระบบจัดการมูลฝอย
- งานบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล
- งานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
- งานอาสาสมัครสาธารณสุข
- งานป้องกันและบำบัดการติดสารเสพติด
- งานสัตวแพทย์
- งานศึกษา ค้นคว้า วิจัย  วิเคราะห์ กำหนดมาตรการและแผนดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- งานส่งเสริมสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม
- งานจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
- งานรณรงค์และการฝึกอบรมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
- งานวางแผนและจัดทำแผนดำเนินงานด้านการเฝ้าระวัง ควบคุมมลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง
- งานเฝ้าระวัง บำบัด ตรวจสอบคุณภาพน้ำ อากาศ ของเสียและสารอันตรายต่าง ๆ
- งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ
- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

งานบริการประชาชนสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

   1. การตรวจสุขภาพและการรักษาพยาบาล
ระยะเวลาดำเนินการ 6 นาที – 1 ชั่วโมง 30 นาที
– ยื่นบัตรประจำคนไข้
– ซักประวัติคนไข้ 1 – 3 นาที
– บริการหัตถการ
– บริการแพทย์แผนไทย
– บริการทันตกรรม
– ตรวจสุขภาพคนไข้พร้อมรับใบสั่งยา 3 – 5 นาที
– จ่ายยา 2 นาที
– ให้คำปรึกษาแนะนำ /แนะนำ /นัด 3 นาที

2. การพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลาย
ระยะเวลาดำเนินการ 1 วัน (กรณีมีผู้ป่วยและการระบาดของโรค)
– ยื่นคำร้องหรือแจ้งทางโทรศัพท์
– รายงานขออนุมัติผู้บังคับบัญชา 30 นาที
– ดำเนินการพ่นหมอกควัน 1 วัน

3. การแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ระยะเวลาดำเนินการ 1 – 3 วัน
– ยื่นคำร้องพร้อมตรวจสอบข้อมูลและรายงานขออนุมัติผู้บังคับบัญชา
– ดำเนินการแก้ไขปัญหา 1 – 3 วัน
– รายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา 30 นาที

4. การบริการเก็บขยะมูลฝอยหรือกิ่งไม้
ระยะเวลาดำเนินการ 1 – 3 วัน
– ยื่นคำร้องพร้อมตรวจสอบข้อมูลและรายงานขออนุมัติผู้บังคับบัญชา
– ดำเนินการเก็บขนขยะมูลฝอยหรือกิ่งไม้ 1 – 3 วัน
– รายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา 30 นาที

5. การขออนุญาตประกอบกิจการสะสมอาหาร
ระยะเวลาดำเนินการ 1 – 3 วัน
– ยื่นคำร้อง
– ตรวจสอบสถานประกอบการ 1 – 2 วัน
– ถูกต้อง ออกใบอนุญาต 5 วัน /ไม่ถูกต้องแจ้งผู้ประกอบการทราบและแก้ไขภายใน 7 วัน /ถูกต้อง ออกใบอนุญาต 5 วัน

6. การต่อใบอนุญาตประกอบกิจการสะสมอาหาร
ระยะเวลาดำเนินการ 3 – 5 วัน
– ยื่นคำร้อง
– ตรวจสอบสถานประกอบการ 1 – 2 วัน
– ออกใบอนุญาต 5 วัน

7. การขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ         
การประกอบกิจการย่อมก่อให้เกิดการจ้างงานการพัฒนาเศรษฐกิจให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง แต่ในขณะ เดียวกัน หากไม่มีการควบคุมหรือกำกับดูแลที่เพียงพอการประกอบกิจการนั้นๆ อาจส่งผลต่อสภาวะความเป็น อยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน ตลอดจนผู้ประกอบการหรือพนักงานในสถานประกอบการของ ตนเองได้ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขจึงมุ่งเน้นที่จะให้การส่งเสริมให้สถานประกอบการได้มีการประกอบ กิจการที่เป็นมิตรต่อสุขภาพอนามัยและสุขภาวะรอบสถานประกอบการนั้นให้มีการพัฒนาที่เกื้อหนุนกัน พระ ราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. 2535 จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการตามที่กฎหมายกำหนดต้องขอใบอนุญาต ประกอบกิจการหรือหนังสือรับรองการแจ้งถ้าผู้ประกอบกิจการมีการเปลี่ยนแปลง สถานที่และเครื่องจักร สามารถมาขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมได้   
ขั้นตอนและระยะการให้บริการ           
1. ผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมหลักฐานตามที่ราชการส่วน ท้องถิ่นกำหนดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น (ระยะเวลา 1 วัน)
2. เจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบให้เจ้าหน้าที่งานสุขาภิบาลตรวจ สถานที่ด้านสุขลักษณะ (ระยะเวลา 7 – 15 วัน)
3. ตรวจผ่านเสนอเรื่องเพื่ออนุญาตและนัดมาชำระค่า ธรรมเนียม (ระยะเวลา 1 – 7 วัน)
4. เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาต (ระยะเวลา 1 วัน) 
เอกสารหรือหลักฐาน       
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของกิจการ พร้อมรูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1” หรือ 2” จำนวน 2 แผ่น
2. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ จำนวน 1 ฉบับ
3. เอกสารเกี่ยวกับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ถ้ามี) เช่น
3.1 หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
3.2 สัญญาเช่าอาคาร พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า อย่างละ 1 ฉบับ
3.3 หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ขอใบอนุญาตไม่ได้มาขออนุญาตด้วยตนเอง) โดยติดอากรแสตมป์พร้อมแนบหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งผู้มอบอำนาจ และ ผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ฉบับ
3.4 ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสำคัญทะเบียนพาณิชย์ จำนวน 1 ฉบับ
3.5 กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวน 1 ฉบับ

8. การต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ระยะเวลาดำเนินการ  3 – 5 วัน
– ยื่นคำร้อง
– ตรวจสอบข้อมูล 1 – 2 วัน
– ออกใบอนุญาต 3 – 5 วัน

ได้รับการสนับสนุนบุคลากร แพทย์/เภสัชกร จากโรงพยาบาลมหาสารคาม
** รับบริการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล /รับขึ้นทะเบียนบัตรทอง (ในวันและเวลาราชการ)

สอบถามรายละเอียดได้ที่  : ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองบูรพา  โทร. 043-712076

          กองคลัง  ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
- งานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา
- งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จบำนาญ เงินอื่น ๆ
- งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณ ฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่าง ๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้ และรายจ่ายต่าง ๆ การควบคุมการเบิกจ่าย
- งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี
- งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาล และ
- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

       - การทำโรงสีข้าว และการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
- การขายสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่าง
- นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้า
- การประกอบหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรม และขายสินค้าที่ผลิตได้
- การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง
- กิจการค้าอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
- การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย
- การซื้อขายสินค้า หรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย
- การบริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
- การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
- การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
- การให้บริการตู้เพลง
- โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก การทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์

       - บัตรประจำตัว / ทะเบียนบ้าน ของเจ้าของหรือผู้จัดการแล้วแต่กรณี
       - สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน
       - หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่หรือสำเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้ให้เช่า (เจ้าของทรัพย์สิน)
       - แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ พอสังเขป
       - หนังสือมอบอำนาจ / สำเนาบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจ

สถานีขนส่ง

        สถานีขนส่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตั้งอยู่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000  เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2573  แล้วเสร็จและประกาศเป็นสถานีขนส่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2515  ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงและก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2557  มีผู้ประกอบการจำนวน  12 ราย 15 เส้นทางเดินรถ
1. บริษัทชาญทัวร์ 1 เส้นทาง
2. บริษัทขอนแก่นชนะชัย 3 เส้นทาง
3. บริษัทสหสารคามยานยนต์ 1 เส้นทาง
4. บริษัทสงวนชัยเดินรถ 2 เส้นทาง
5. บริษัทสหพันธ์ทัวร์ 1 เส้นทาง
6. บริษัทขนส่ง 99999 1 เส้นทาง
7. บริษัทวาปีเดินรถ 1 เส้นทาง
8. บริษัทเชิดชัยทัวร์ 1 เส้นทาง
9. บริษัทแสงประทีป 2 เส้นทาง
10. บริษัทรุ่งประเสริฐ 1 เส้นทาง
11. บริษัทหลักเมือง 2 เส้นทาง
ผู้ใช้บริการประมาณ 2,000 – 2,500 คน/ต่อวัน มีชานชาลาช่องจอด 22 ช่อง มีผู้จำหน่ายสินค้าในอาคารจำนวน 2 ราย

ตลาดโต้รุ่ง

        ตลาดโต้รุ่งเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตั้งอยู่ ถนนผังเมืองบัญชา ตำบลตลาด อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม เป็นแหล่งจำหน่ายอาหารมากมาย สะอาดถูกสุขลักษณะให้แก่พี่น้องประชาชนที่มาจับจ่าย

ตลาดสด

          ตลาดสด ปัจจุบันตั้งอยู่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคามย้ายมาจากตลาดเจริญมายังสถานที่ปัจจุบันและได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ตลาดของเรา” ลักษณะของตลาดในระยะแรกสร้างเป็นอาคารไม้ มีร้านค้าอยู่ไม่มากครั้น พ.ศ. 2478 ตลาดของเราเริ่มมีการค้าขายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้คนที่ย้ายมาใหม่ และอาศัยตามชุมชนข้าราชการโดยเฉพาะที่มากแถบโคราชได้เปิดร้านค้ามากขึ้น เช่นร้ายก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง ขนมไทยต่าง ๆ
ใน พ.ศ. 2505 นายบุญช่วย อัตถากร ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม ได้มีการสร้างตึกโค้ง โดยมีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ชั้นบนเป็น “โรงแรมไทยประคอง” ด้านล่างเป็นตลาดและสถานที่ราชการ เช่นสำนักงานเทศบาลสุขศาลา สถานธนานุบาล และมีห้างทองร้านแรก คือห้างภัทราภรณ์ ห้างอีฮง ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 บรรดาสถานที่ราชการได้ย้ายจากตึกโค้ง และโรงแรมไทยประคองก็เลิกกิจการไป

ตลาดห้าแยก

          ตั้งอยู่ตำบลตลาด  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (บริเวณ 5 แยก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตในเมือง)
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ 
- งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
- งานยุทธศาสตร์ของเทศบาล
- งานจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล
- งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
- งานประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
- งานคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล
- งานคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล
- งานงบประมาณ
- งานเสนอแนะขอรับการการจัดสรรเงินอุดหนุนของเทศบาล
- งานจัดทำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและฉบับเพิ่มเติม (ถ้ามี)
- งานตรวจติดตามและประเมินผลแผนงานและโครงการ
- งานประชาสัมพันธ์
- งานบริการและเผยแพร่วิชาการ
- งานสถิติข้อมูล
- งานสารสนเทศ
- งานจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของเทศบาล
- งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ
- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

การให้บริการปิดประกาศเกี่ยวกับที่ดิน

การให้บริการปิดประกาศเกี่ยวกับที่ดิน
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นคำขอ
อาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 ที่เป็นการลดขั้นตอน และระยะเวลาการให้บริการประชาชน

หลักเกณฑ์
1. ผู้ประสงค์ขอใช้บริการต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้แทน ตามเอกสาร ประกาศ สานํกงานที่ดินจังหวัดมหาสารคาม
2. ผู้ประสงค์ขอใช้บริการต้องชําระค่าธรรมเนียมค่าปิดประกาศฯ 10 บาท

ระยะเวลา
ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น ไม่เกิน 1 วัน นับตั้งแต่วันรับคําร้อง

ค่าธรรมเนียม
– 10 บาท ต่อ 1 ประกาศ

รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ
1. ประกาศ สำนักงานที่ดินจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 ชุด
2. หนังสือสำนักงานที่ดินจังหวัดมหาสารคาม เรื่อง ขอให้ปิดประกาศ จำนวน 1 ชุด
        กองการศึกษา ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
- งานบริหารการศึกษา
- งานพัฒนาการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา
- งานบริหารวิชาการด้านการศึกษา
- งานโรงเรียน
- งานกิจการนักเรียน
- งานการศึกษาปฐมวัย
- งานขยายโอกาสทางการศึกษา
- งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ
- งานห้องสมุด
- งานพิพิธภัณฑ์
- งานเครือข่ายทางการศึกษา
- งานศึกษานิเทศ
- งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร
- งานพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
- งานการศาสนา
- งานบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- งานการกีฬาและนันทนาการ
- งานกิจกรรมเด็กเยาวชน และการศึกษานอกโรงเรียน
- งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- งานส่งเสริมสวัสดิการสวัสดิภาพและกองทุนเพื่อการศึกษา
- งานบริหารงานบุคคลของพนักงานครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้าง และพนักงานจ้างสังกัดสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกรณียังไม่จัดตั้งกองการเจ้าหน้าที่
- งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำทางวิชาการ
- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม

       – โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร
– โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา
– โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย
– โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา
– โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี
– โรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ
– โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด
กองสวัสดิการสังคม ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ
- งานจัดทำแผนงานด้านการพัฒนาสังคม ด้านสวัสดิการสังคม และด้านสังคมสงเคราะห์
- งานพัฒนาระบบ รูปแบบมาตรการ และวิธีการพัฒนาสังคม การจัดสวัสดิการสังคม และการสังคมสงเคราะห์ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชน
- งานพัฒนาชุมชน
- งานสำรวจและจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน
- งานจัดระเบียบชุมชน
- งานส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
- งานฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน
- งานสังคมสงเคราะห์เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้ที่พึ่ง ผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ
- งานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน ผู้พิการทางร่างกายและสมอง
- งานสงเคราะห์เด็กและเยาวชนผู้ทอดทิ้ง เร่ร่อน ไร้ที่พึ่ง ถูกทำร้ายร่างกาย
- งานส่งเสริมสวัสดิภาพเด็กและเยาวชนที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่วัย
- งานสงเคราะห์ครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในครอบครัว
- งานจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ฯลฯ
- งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำทางวิชาการ
- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ 
- งานตามกฎหมายว่าด้วยงานทะเบียนราษฎร
- งานกำหนดเลขหมายประจำบ้าน
- งานแจ้งรื้อถอนบ้าน
- งานแจ้งเกิด
- งานแจ้งตาย
- งานแจ้งย้ายที่อยู่
- งานแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางอัตโนมัติ
- งานเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) และ (ท.ร.13)
- งานแก้ไขรายการในเอกสารทะเบียนราษฎร
- งานการคัด-รับรองสำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร มรณบัตร
- งานจัดทำทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษ
- งานจัดทำทะเบียนบ้านและการจัดทำทะเบียนประวัติสำหรับบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
- งานการสำรวจและจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน งานจัดเก็บ-รักษา เบิก-จ่าย แบบพิมพ์งานทะเบียนราษฎร
- งานจัดเก็บ – รักษา เอกสารงานทะเบียนราษฎร
- งานประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้ง
- งานจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกกรรมการชุมชน
- งานรับคำร้องเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- งานรับแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- งานให้บริการตรวจสอบสิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- งานจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- งานรับลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าหรือนอกเขตเลือกตั้ง 
- งานแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงเจ้าบ้าน
- งานสอบสวนด้านทะเบียนราษฎร
- งานสอบสวนการแจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา
- งานสอบสวนการแจ้งตายเกินกำหนดเวลา
- งานสอบสวนการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน ท.ร.13 , ท.ร.14
- งานสอบสวนการแก้ไขข้อมูลในเอกสารทางทะเบียนราษฎร
- งานสอบสวนกรณีจำหน่ายบุคคลเข้าทะเบียนบ้านกลาง
- งานสอบสวนกรณีย้ายบุคคลออกจากทะเบียนบ้านกลาง งานสอบสวนกรณีใบแจ้งย้ายที่อยู่สูญหาย 
- งานสอบสวนกรณีขอคืนสถานภาพบุคคล
- งานสอบสวนกรณีการจำหน่ายบุคคลเกินหรือบุคคลซ้ำซ้อน
- งานสอบสวนการทุจริตในทะเบียนราษฎร
- งานให้บริการประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์
- งานการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแก่ผู้มีอายุ 7 ปี ถึง 70 ปี
- งานขอมีบัตรกรณีมีบัตรครั้งแรก งานขอมีบัตรกรณีได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
- งานขอมีบัตรกรณีได้กลับคืนสัญชาติไทย
- งานขอมีบัตรกรณีพ้นสภาพได้รับการยกเว้น
- งานขอมีบัตรกรณีเป็นบุคคลได้รับการยกเว้น
- งานขอมีบัตรใหม่กรณีบัตรหมดอายุ บัตรสูญหาย บัตรถูกทำลาย ชำรุด
- งานขอเปลี่ยนบัตรใหม่กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อตัว การตั้งชื่อรอง การเปลี่ยนชื่อสกุล การร่วมใช้ชื่อสกุล การใช้ชื่อสกุลตามบิดา/มารดา การใช้ชื่อสกุลของคู่สมรส
- งานทะเบียนครอบครัว เช่น การจดทะเบียนสมรส/หย่า การจดทะเบียนรับรองบุตร การรับ/เลิกรับบุตรบุญธรรม
- งานจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
- งานจัดเก็บ รักษา เบิก จ่าย วัสดุอุปกรณ์ผลิตบัตรประจำตัวประชาชน
- งานจัดเก็บ ทำลาย เอกสารบัตรประจำตัวประชาชน
- งานสอบสวนด้านบัตรประจำตัวประชาชน
- งานสอบสวนการขอมีบัตรใหม่กรณีบัตรสูญหาย
- งานสอบสวนการขอเปลี่ยนบัตรกรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ
- งานสอบสวนการขอมีบัตรกรณีทำบัตรครั้งแรกเกินกำหนด
- งานสอบสวนการขอมีบัตรกรณีได้รับอนุมัติเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
- งานสอบสวนการขอมีบัตรกรณีได้รับอนุมัติ แจ้งเกิดเกินกำหนด
- งานสอบสวนกรณีทุจริตในงานบัตรประจำตัวประชาชน
- งานสนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารงานของกรมการปกครอง
- งานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร
- งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ
- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
กองการเจ้าหน้าที่ ให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาล ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างของเทศบาล
- งานวิเคราะห์การวางแผนอัตรากำลัง
- งานจัดตั้งส่วนราชการและการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ
- งานการกำหนดตำแหน่งและการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
- งานการสรรหาเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน สอบคัดเลือก การคัดเลือก การย้าย การโอน การรับโอน การคัดเลือกเพื่อรับโอน งานบรรจุและแต่งตั้ง งานจัดทำ ควบคุม ตรวจสอบ แก้ไข บันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติ
- งานระบบสารสนเทศข้อมูลบุคลากรท้องถิ่นแห่งชาติ
- งานการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
- งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทน
- งานการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งพนักงานเทศบาลให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น
- งานการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะข้าราชการครู
- งานการลาทุกประเภท
- งานสิทธิสวัสดิการทุกประเภท
- งานส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน
- งานแผนพัฒนาบุคลากร งานฝึกอบรม งานการรักาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ 
- งานสนับสนุนเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ งานการให้พ้นจากราชการ
- งานเลขานุการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
- งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำทางวิชาการ
- งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

Scroll to Top