ประวัติเทศบาล
ประวัติเทศบาล
ท้องถิ่นเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลเมืองมหาสารคาม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 มีคณะเทศมนตรีชุดแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2480 ในการจัดตั้งเทศบาลเมืองมหาสารคามในช่วงแรกๆ ปรากฏว่ายังมีผู้ให้ความสนใจน้อยในการที่จะบริหารเทศบาล แต่ระยะต่อมาจึงได้เริ่มแข่งขันกันมากขึ้น ก่อนที่ นายบุญช่วย อัตถากร จะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั้น ได้ประกอบธุรกิจร้านขายหนังสือ ต่อมาได้ขยายกิจการกว้างขวางขึ้นจนกลายเป็นร้านสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองมหาสารคามภายใต้ชื่อ “ห้างธรรมอุดมพาณิชย์” นายบุญช่วย อัตถากร ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเป็นระยะๆ หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีอีกหลายวาระ จนถึงช่วงสุดท้ายคือ พ.ศ. 2477 – 2511 รวมเป็นเวลา 22 ปี สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม ระยะเริ่มแรกได้อาศัยสถานที่สโมสรเสือป่า เป็นที่ทำการของสำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม จนถึง พ.ศ. 2483 จึงย้ายไปอยู่สุขศาลา อำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นเวลา 5 ปีเศษ แล้วย้ายสำนักงานมาชั้นบนตึกแถว 2 ชั้น (ปัจจุบันคือบริเวณตลาดสด) จนถึง พ.ศ. 2501 จึงย้ายมาอยู่อาคารหลังใหม่ และต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้ย้ายสำนักงานไปสร้างในที่ดินซึ่งมีผู้อุทิศให้ จำนวน 10 ไร่ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ดังในปัจจุบัน
ทำเนียบนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม
รายนามนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม
ลำดับ | รายนามนายกเทศมนตรี | ช่วงที่ดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายบุญช่วย อัตถากร | 3 เม.ย. 2480 - 25 ส.ค. 2480 |
2 | นายสิงโต พรหมแสนวิเศษ | 25 ส.ค. 2480 - 4 เม.ย. 2481 |
3 | นายตู้ สารมาคม | 5 เม.ย. 2481 - 7 เม.ย. 2481 |
4 | นายฮวด ทองโรจน์ | 8 เม.ย. 2481 - 16 พ.ย. 2481 |
5 | นายตู้ สารมาคม | 17 พ.ย. 2481 - 23 เม.ย. 2483 |
6 | นายฮวด ทองโรจน์ | 24 เม.ย. 2483 - 9 ธ.ค. 2484 |
7 | นายบุญช่วย อัตถากร | 20 ม.ค. 2485 - พ.ค. 2485 |
8 | นายบุญช่วย อัตถากร | พ.ค. 2485 - 15 เม.ย. 2492 |
9 | หลวงบริหารชนบท | 16 เม.ย. 2492 - 20 ส.ค. 2492 |
10 | นายชม วัลลิภากร (ปลัดจังหวัด) | 21 ส.ค. 2492 - 20 ส.ค. 2493 |
11 | นายแปลก เรืองสุวรรณ | 21 ส.ค. 2493 - 6 ก.ย. 2494 |
12 | นายมนูญ ศรีสารคาม | 7 ก.ย. 2494 - 9 มิ.ย. 2496 |
13 | นายนาถ เงินทาม | 10 มิ.ย. 2496 - 30 เม.ย. 2497 |
14 | นายจรัญ ณ สงขลา (ปลัดจังหวัด) | 1 พ.ค. 2497 - 11 มิ.ย. 2497 |
15 | นายบุญช่วย อัตถากร | 12 มิ.ย. 2497 - 3 ม.ย. 2498 |
16 | นายส่ง สุภโตษะ (ปลัดจังหวัด) | 2 ก.พ. 2499 - 20 ก.พ. 2499 |
17 | นายเกตุ วงศ์กาไสย | 21 ก.พ. 2499 - 28 ส.ค. 2499 |
18 | นายส่ง สุภโตษะ (ปลัดจังหวัด) | 29 ส.ค. 2499 - 10 ต.ค. 2499 |
19 | นายบุญช่วย อัตถากร | 11 ต.ค. 2499 - 16 เม.ย. 2503 |
20 | นายบุญช่วย อัตถากร | 17 เม.ย. 2503 - 15 มิ.ย. 2508 |
21 | นายบุญช่วย อัตถากร | 16 มิ.ย. 2508 - 4 ก.พ. 2511 |
22 | นายเกตุ วงศ์กาไสย | 26 ก.พ. 2511 - 2 ม.ค. 2513 |
23 | นายสงวน เพชรวิเศษ | 5 ม.ค. 2513 - 1 เม.ย. 2513 |
24 | นายเกียรติ นาคะพงษ์ | 4 พ.ค. 2513 - 1 เม.ย. 2515 |
25 | นายอายุทธ ฝ่ายคุณวงศ์ | 26 ธ.ค. 2513 - 6 ส.ค. 2517 |
26 | นายอรรถ วุฒิชัย | 8 ส.ค. 2517 - 4 พ.ย. 2517 |
27 | นายมนูญ ศรีสารคาม | 9 พ.ย. 2517 - 17 ธ.ค. 2517 |
28 | นายเกียรติ นาคะพงษ์ | 18 ธ.ค. 2517 - 9 มิ.ย. 2523 |
29 | นายเกียรติ นาคะพงษ์ | 10 มิ.ย. 2523 - 14 ส.ค. 2528 |
30 | นายประพิส ทองโรจน์ | 15 ส.ค. 2528 - 25 ธ.ค. 2530 |
31 | นายสุวิน ตาลรักษา | 26 ธ.ค. 2530 - 17 เม.ย. 2533 |
32 | นายทองใบ วรเชษฐา (ปลัดจังหวัด) | 18 เม.ย. 2533 - 10 ก.ค. 2533 |
33 | นายสุรศักดิ์ วงศ์มังกร | 11 ก.ค. 2533 - 8 ต.ค. 2533 |
34 | นายจีระศักดิ์ คณาสวัสดิ์ | 8 ต.ค. 2533 - 19 พ.ย. 2538 |
35 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | 20 พ.ย. 2538 - 9 มี.ค. 2541 |
36 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | 10 มี.ค. 2541 - 4 มี.ค. 2543 |
37 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | 6 มี.ค. 2543 - 1 ส.ค. 2544 |
38 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | 23 ส.ค. 2544 - 9 ส.ค. 2545 |
39 | นายสุรจิตร ยนต์ตระกูล | 10 ส.ค. 2545 - 24 ธ.ค. 2546 |
40 | นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาลรักษาการ) | 25 ธ.ค. 2546 - 14 มิ.ย. 2547 |
41 | นายฐิติรัตน์ ประสพสันต์วัฒนา | 15 มิ.ย. 2547 - 22 พ.ค. 2551 |
42 | นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่) | 23 พ.ค. 2551 - 29 ก.ค. 2551 |
43 | นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ | 30 มิ.ย. 2551 - 28 มิ.ย. 2554 |
44 | นายวิสุทธิ์ เจริญศรี (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่) | 29 มิ.ย. 2554 - 5 ส.ค. 2555 |
45 | นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ | 11 ส.ค. 2555 - 2562 |
46 | นายสายยันต์ ภิรมย์กิจ (ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่) | |
47 | นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ | 2564 - ปัจจุบัน |
สภาพกายภาพเมืองมหาสารคาม
สภาพภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศของเมืองมหาสารคามเป็นพื้นที่ราบสูงรูปกระทะคว่ำ โดยชุมชนเมืองจะเกาะตัวยาวตามถนนนครสวรรค์ในแนวทิศตะวันออก ไปด้านตะวันตกมีลักษณะเป็นเนินลาด และที่ราบลุ่มมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 -230 เมตร มีศูนย์กลางของเนินอยู่บริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซึ่งเป็นเนินสูงสุดของพื้นที่ มีลำห้วยคะคางไหลผ่านตัวเมืองด้านตะวันตกไหลลงแม่น้ำชี และแก่งเลิงจาน ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มบริเวณตะวันตกของเมือง และบริเวณด้านใต้ของชุมชนมีคลองสมถวิลไหลผ่าน จากลักษณะดังกล่าวทำให้เกิดแอ่งน้ำ และที่ลุ่มเป็นห้วง ๆ ตามแนวลำห้วย ทำให้พื้นที่โดยรอบเมืองเกิดเป็นพื้นที่ลุ่ม
ที่ตั้ง และขนาด
ตั้งอยู่เลขที่ 27 ถนนผังเมืองบัญชา ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 เทศบาลเมืองมหาสารคาม ตั้งอยู่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 24.14 ตารางกิโลเมตร หรือ 15,857.50 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 475 กิโลเมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย สภาพเป็นชุมชนเมืองกึ่งชนบท ประชาชนยังมีความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือติดต่อกันมา และมีการแบ่งชุมชนย่อยในเขตเทศบาลออกเป็น 30 ชุมชน หรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “คุ้ม” มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรบริหารส่วนตำบล ต่าง ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกิ้ง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลแวงน่าง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสองคอน